วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ยกตัวอย่างบริษัท หาการสร้างความได้เปรียบ


บริษัท NOKIA  

ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันสูงและต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน อันจะทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ ผู้บริหารจำเป็นมีการจัดการที่ดีกับทรัพยากรทางการจัดการ อันประกอบด้วย บุคลากร(Man) เครื่องจักร(Machine) วัตถุดิบ(Material) เงิน(Money) การจัดการ(Management)  และตลาด(Market) หรือ 6 M’s นั่นเอง โดยมีบุคลากรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้องค์กรเจริญเติบโตไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
ข้อได้เปรียบหรือจุดแข็ง (Strength) เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรพยายามสร้างขึ้นมาแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งง่าย ที่กิจการสามารถสร้างขึ้นมาได้ เช่น บริษัท NOKIA  ได้มีการพัฒนาโทรศัพท์มือถือ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในระบบดิจิตอลมากกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งในอดีตผู้นำคือบริษัท โมโตโรล่า ที่ยังเน้นเทคโนโลยีระบบอนาลอก บริษัทต้องเสียเวลามาปรับกลยุทธ์กับสินค้าใหม่แต่ก็ช้าเกินไป ทำให้ NOKIA สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) และก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำแทน ทั้ง ๆ ที่ในอดีต NOKIA เป็นบริษัทเล็ก ๆ ของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งมีประชากรแค่ 5.3 ล้านคน จึงมีการตั้งคำถามว่า ทำไมประเทศเล็ก ๆ นี้จึงสามารถเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ภายในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 20 ปีที่ผ่านมา ได้อย่างไร?
NOKIA เป็นตัวอย่างที่องค์กรต่าง ๆ พยายามศึกษาถึงกลยุทธ์ความสำเร็จ แต่การที่จะเป็นผู้นำได้นั้น ไม่สามารถสร้างในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ได้ จากการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่เป็นหัวใจหลักของการประสบความสำเร็จก็คือ รัฐบาลฟินแลนด์มีนโยบายให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างจริงจัง ด้วยการพยายามส่งเสริมภาคเอกชนมีการทำวิจัยและพัฒนาพร้อมไปกับผลงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ (Knowledge) ของภาคเอกชนให้สามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) ได้ ทำให้ประเทศฟินแลนด์สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับสินค้าอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามประเทศอื่น ๆ ก็สามารถที่จะทำให้มีความได้เปรียบเช่นเดียวกับประเทศฟินแลนด์เช่นกันปัจจัยที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุดก็คือ ความรู้ (Knowledge) ที่องค์กรต้องพยายามสร้างขึ้นมา ด้วยการเรียนรู้ (Learning) และพัฒนามาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  (Learning Organization) ให้ได้ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ ระบบโทรคมนาคม หรือแม้กระทั่ง ระบบอินเตอร์เน็ต สามารถช่วยทำให้กิจการ สร้างองค์ความรู้ได้หลากหลายรูปแบบ จากนั้นผู้บริหารต้องดึงเอาความรู้ต่าง ๆ ที่บุคลากรมี เพื่อมาสร้างนวัตกรรม (Innovation) ให้กับองค์กรต่อไป
นวัตกรรม เป็น การเรียนรู้ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการสร้างผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม  
นวัตกรรม ไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีและจับต้องได้ (Tangible Innovation) เท่านั้น เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอลรุ่นใหม่ของ Sony หรือโทรทัศน์รุ่นใหม่จอ Plasma ของ Samsung หรือโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ของ LG เป็นต้น แต่นวัตกรรมยังสามารถครอบคลุมถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Innovation) โดยเฉพาะ การจัดการสมัยใหม่ ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมได้ เช่น ธนาคารกสิกรไทย ได้มีการนำ Balanced Scorecard (BSC) มาใช้ในและประสบความสำเร็จในการควบคุมกิจการและบริหารเชิงกลยุทธ์ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยจำนวนมากได้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเป็นอย่างมาก เช่นบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)ได้จัดให้ปี 2548 เป็นปีแห่งนวัตกรรม (Year of Innovation) มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมของแต่ละบริษัทในเครือ และมีการประกวดแนวคิดด้านนวัตกรรมที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้จริง ผู้ชนะเลิศจะได้เงินสดเป็นรางวัลถึง 1 ล้านบาท
เมื่อองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรม พร้อมทั้งมีการจัดการที่ดีในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตลาด การเงิน การผลิต และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แล้ว ก็จะทำให้องค์สามารถที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ได้  และตามทฤษฎี Michael E.Porter ซึ่งกูรูท่านหนึ่งทางด้านการจัดการ ได้กล่าวถึงการสร้างกลยุทธ์ที่สำคัญของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประกอบด้วย
1. กลยุทธ์ต้นทุน (Cost Strategy) – กิจการต่าง  ๆ พยายามลดต้นทุนจนทำให้สร้างความได้เปรียบกว่าคู่แข่งขันเช่น Wal-Mart ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการนำนวัตกรรมด้านการจัดการเกี่ยวกับ การบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management : SCM) เพื่อลดต้นทุน ด้วยมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการติดต่อระหว่าง Supplier และศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center : DC)จนทำให้ สามารถตั้งราคาได้ต่ำของสินค้าแต่ละชิ้น (Stock Keeping Unit : SKU) กว่าคู่แข่งขันได้
2. กลยุทธ์ความแตกต่าง (Differentiate Strategy) – ในอดีตสินค้ามักจะมีการผลิตที่เป็นจำนวนมาก (Mass Production) ตามความต้องการของผู้ขาย แต่ปัจจุบันจะทำเช่นนั้น ไม่ได้อีกแล้ว เพราะกลุ่มลูกค้ามีความต้องการหลากหลาย ทำให้ต้องมีการสร้างความแตกต่างมากกว่ารายอื่น เช่น PDA ของ บริษัท Palm Inc. มีการพัฒนาเทคโนโลยีและสามารถสร้างความแตกต่างได้มากกว่าคอมพิวเตอร์รูปแบบเดิมที่มีขนาดใหญ่กว่าและไม่สะดวกในการพกพาได้
3. กลยุทธ์มุ่งเฉพาะกลุ่ม (Niche or Focus Strategy) ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือ มีประสิทธิภาพทั้งสามารถส่งข้อมูลเสียงจนมาถึงส่ง (Short Message Service : SMS) และ Multi Message Service : MMS) ได้ มีธุรกิจหนึ่งที่กำลังน่าสนใจมากคือ Digital Content  เป็นธุรกิจที่จะหาเนื้อหาหรือข้อมูลใหม่ ๆ เช่น ข้อมูลตลาดหุ้น รายงานผลการแข่งขันกีฬา เป็นต้น เพื่อบริการกลุ่มลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่มีพฤติกรรมชอบใช้เทคโนโลยี ใหม่ ๆ ควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ถึงแม้คนกลุ่มนี้จะยังมีไม่มากก็ตาม      
กลยุทธ์การสร้างได้เปรียบในการแข่งขันเป็นพื้นฐานที่แต่ละกิจการพยายามสร้าง และเมื่อแต่ละประเทศมีหลายองค์กรที่สามารถสร้างความได้เปรียบก็จะทำให้ประเทศนั้น ๆ มีขีดความสามารถทางการแข่งขัน  (Competitiveness) ที่เหนือกว่าอีกประเทศอื่น ๆ  
ในปี  2547 ได้มีการจัดอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ จากการจัดอันดับของ World Economic Forum (WEF) โดยดูปัจจัยหลัก ๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ประสิทธิภาพของรัฐบาล และศักยภาพทางเศรษฐกิจ เป็นต้น  ดังตารางที่ 1    

อันดับ
ประเทศ (ลำดับปีที่แล้ว)
1.
ฟินแลนด์ (1)
4.
ไต้หวัน (5)
7.
สิงคโปร์ (6)
9.
ญี่ปุ่น (11)
29.
เกาหลี (18)
31.
มาเลเซีย (29)
34.
ไทย (32)

                                       ตารางที่ 1 ขีดความสามารถทางการแข่งขัน 2004
Source : World Economic Forum (2004) The Global Competitiveness Report 2004-2005

            ประเทศไทยมีการจัดอันดับอยู่ที่ 34 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ เมื่อสำรวจรายชื่อแต่ละประเทศแล้วจะเห็นว่าประเทศเหล่านี้จะเน้นสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง (High Technology)  เช่น คอมพิวเตอร์ของไต้หวัน เครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศเกาหลีใต้ รถยนต์ที่มีคุณภาพจากญี่ปุ่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยก็พยายามผลักดันนโยบายที่ให้การสนับสนุนภาคเอกชน เพื่อที่สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ โดยจะเน้นกลุ่ม (Cluster) ธุรกิจ 5 กลุ่ม ดังนี้
1. อาหารและสมุนไพร
2. ยางและผลิตภัณฑ์ยาง
3. ซอฟต์แวร์และแมคาทรอนิคส์
4. ยานยนต์และชิ้นส่วน
5. การออกแบบเชิงวิศวกรรมและเชิงอุตสาหกรรม

1 ความคิดเห็น: