วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตัวอย่างเทคโนโลยีสมัยใหม่และเทคโนโลยีต้นแบบ

 1.  นาโนเทคโนโลยีกับการรักษาโรคมะเร็ง(เทคโนโลยีสมัยใหม่)
“มะเร็ง” โรคร้ายที่คุกคามผู้ป่วยทั่วโลกและส่งผลให้มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นสิ่งกระตุ้นให้นักวิจัยและบริษัทยาเกิดการตื่นตัวในการคิดค้นหาทางวินิจฉัยและรักษาเป็นเวลาหลายปี

         การทำเคมีบำบัด  (Chemotherapy) การผ่าตัด (Surgery) การฉายรังสี (Radiotherapy) และการรับประทานยา  ...หลากหลายวิธีเหล่านี้ล้วนนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง  แต่ละวิธีมีข้อดีเสียแตกต่างกัน การจะเลือกวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และสภาพร่างกายของผู้ป่วย

         นอกจากวิธีที่กล่าวมาข้างต้น ผู้อ่านหลายท่านคงทราบว่า ปัจจุบันแนวความคิดที่ทำให้ทั่วโลกตื่นตัว คือ การนำเทคโนโลยีซุปเปอร์จิ๋วหรือ นาโนเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เช่น การผลิตเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมที่มีขนาดเล็กมากสามารถแทรกซึมผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม้เทนนิสที่ผลิตจากวัสดุนาโนทำให้มีความทนทาน แข็งแรง และมีน้ำหนักเบา รวมทั้งเสื้อผ้าที่ผลิตจากเทคโนโลยีนาโน ซึ่งมีความหนาแน่นจนน้ำผลไม้หรือกาแฟไม่สามารถซึมผ่านลงไปได้ ทำให้เสื้อผ้าไม่เปื้อน แถมเบาสบายและมีความคงทน เป็นต้น แต่ผลการประยุกต์ใช้ที่น่าจะมีความสำคัญต่อมนุษย์มากที่สุดอันหนึ่งก็คือ การนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้กับโรคมะเร็ง ซึ่งจะช่วยให้การแพทย์ก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง

ตรวจวินิจฉัยและรักษามะเร็งได้ด้วยนาโนเทคโนโลยี

         นาโนเทคโนโลยีสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ได้โดยตรง โดยการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ให้มีขนาดเล็กกว่า 100 นาโนเมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับขนาดของเซลล์สัตว์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 10,000 ถึง 20,000 นาโนเมตรแล้ว  พบว่าวัสดุนาโนสามารถเข้าสู่เซลล์และอวัยวะภายในเซลล์ได้ง่าย รวมทั้งสามารถใช้ในการตรวจจับหรือติดตามเซลล์ในร่างกายได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญอันดับแรกที่แพทย์ควรตระหนักก่อนที่จะใช้วัสดุนาโนรักษาโรคคือ ความสามารถในการวินิจฉัยเซลล์มะเร็งอย่างถูกต้องแม่นยำตั้งแต่ในระยะแรก เพื่อให้การรักษาเป็นไปได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้น 

ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/38387

2.วิจัยเห็ดญี่ปุ่นสยบมะเร็ง ความหวังรักษาเซลล์ร้ายระยะก่อตัว (เทคโนโลยีต้นแบบ)

สถาบันมะเร็งเผยผลการศึกษาเห็ดญี่ปุ่นในผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายสามารถกระตุ้นภูมิต้านทานและทำลายเซลล์ร้าย ยืดอายุผู้ป่วยได้นาน 1-2 ปี เผยทางเลือกสำหรับยับยั้งเซลล์ร้ายในระยะก่อตัว


นพ.สุพลมโนรมณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งและที่ปรึกษาสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยผลการวิจัยประสิทธิภาพของเห็ดญี่ปุ่นในการรักษาโรคมะเร็ง ว่า สารสกัดจากเห็ดชิตาเกะ ซึ่งเป็นเห็ดที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่น สามารถกระตุ้นภูมิต้านทาน และทำลายเซลล์มะเร็งได้จริง


ก่อนหน้านี้นักวิจัยญี่ปุ่นได้สังเกตความแตกต่างด้านสุขภาพ ระหว่างประชากรกลุ่มที่บริโภคเห็ดชิตาเกะ กับกลุ่มที่ไม่ได้บริโภคเห็ด พบความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งแตกต่างกันอย่างชัดเจน จึงนำมาสู่การศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงสารสกัดของเห็ดชิตาเกะในระดับห้องปฏิบัติการ 
 

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ตรวจหามะเร็งรวดเร็ว-แม่นยำ

เมื่อวิวัฒนาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงยารักษาโรค ได้ถูกคิดค้นและพัฒนาออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ช่วยรักษาคนไข้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคร้าย ต่าง ๆ

ซึ่งโรคมะเร็งก็ถือเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่คุกคามชีวิตคนทั่วโลกรวมถึงคนไทยไปจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาวงการวิทยาศาสตร์ การแพทย์สมัยใหม่ได้พยายามพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อต่อสู้กับมะเร็งร้าย

ทั้งนี้หนึ่งในเครื่องมือทางการแพทย์ ที่เกี่ยวกับโรคมะเร็งซึ่งถูกกล่าวถึงบ่อย ๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาก็คือ เครื่องเพท/ ซีที (PET/CT : Positron Emission Tomography/Computed Tomography) ซึ่งเป็นเครื่องมือทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานที่ผสานกัน ระหว่างเทคโนโลยีของเครื่อง PET และเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ที่มีประสิทธิภาพสูงในการนำมาใช้ตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง

เครื่องเพท/ซีที จะทำหน้าที่เอกซเรย์ภาพของอวัยวะต่าง ๆ ของ ร่างกาย ให้ภาพที่มีความละเอียดสูง สามารถระบุตำแหน่งเซลล์ที่มีความผิดปกติได้อย่างแม่นยำ และช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น โดยเครื่องเพท/ซีที รุ่นล่าสุด “ไบโอกราฟ 64 ทรูพอยท์” (PET/CT Biograph 64 True Point) ได้ถูกพัฒนาขึ้นอีก ขั้นด้วยการให้ความละเอียดคมชัดของภาพที่สูงขึ้นและเร็วขึ้นกว่าเดิม สามารถสร้างภาพตัดขวางพร้อมกันถึง 64 ภาพต่อการหมุนหนึ่งรอบด้วยความเร็ว 0.33 วินาที ภาพที่ได้จึงมีความชัดเจนทั้ง 2 และ 3 มิติ และระบุรอยโรคได้แม้มีขนาดเล็กเพียง 3-6 มิลลิเมตร

และสามารถให้รายละเอียดผลการตรวจที่แสดงให้เห็นความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของโรคมะเร็ง ระบุตำแหน่งที่เซลล์มีความผิดปกติ ได้ถูกต้องแม่นยำ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ตรวจหาระยะของมะเร็ง ตรวจสอบการตอบสนองต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี เพื่อติดตามผลการรักษา และยังใช้ตรวจหาการลุกลามของมะเร็งที่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ หรือมะเร็งที่กลับมาเป็นใหม่หลังการรักษาได้ ถือเป็นรายละเอียดที่ไม่สามารถบอกได้ด้วยการตรวจวิธีอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

นพ.ณรงค์ศักดิ์ เกียรติขจรธาดา อายุรแพทย์โรคเลือด และโรคมะเร็ง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ฯ กล่าวว่า โรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก เทคโนโลยีของเครื่องเพท/ซีที จะสามารถบอกตำแหน่งและขนาดของเซลล์มะเร็งได้อย่างแม่นยำ แม้จะมีความผิดปกติเพียงเล็กน้อย สำหรับขั้นตอนการตรวจนั้นผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสารเภสัชรังสีที่เป็นอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคส ติดฉลากกับสารกัมมันตรังสีที่สลายตัวให้รังสี โพสิตรอนเข้าหลอดเลือดดำ ซึ่งสารที่ฉีดเข้าไปจะไปสะสมอยู่ในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำผู้ป่วยเข้าเครื่องเพท/ซีที ทำการตรวจ โดยใช้เวลาเพียง 15-20 นาที เร็วกว่าเครื่องรุ่นก่อนถึง 2 เท่า เมื่อรวมขั้นตอนต่าง ๆ ของการตรวจจะใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง เท่านั้น