วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ยกตัวอย่างบริษัท หาการสร้างความได้เปรียบ


บริษัท NOKIA  

ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันสูงและต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน อันจะทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ ผู้บริหารจำเป็นมีการจัดการที่ดีกับทรัพยากรทางการจัดการ อันประกอบด้วย บุคลากร(Man) เครื่องจักร(Machine) วัตถุดิบ(Material) เงิน(Money) การจัดการ(Management)  และตลาด(Market) หรือ 6 M’s นั่นเอง โดยมีบุคลากรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้องค์กรเจริญเติบโตไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
ข้อได้เปรียบหรือจุดแข็ง (Strength) เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรพยายามสร้างขึ้นมาแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งง่าย ที่กิจการสามารถสร้างขึ้นมาได้ เช่น บริษัท NOKIA  ได้มีการพัฒนาโทรศัพท์มือถือ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในระบบดิจิตอลมากกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งในอดีตผู้นำคือบริษัท โมโตโรล่า ที่ยังเน้นเทคโนโลยีระบบอนาลอก บริษัทต้องเสียเวลามาปรับกลยุทธ์กับสินค้าใหม่แต่ก็ช้าเกินไป ทำให้ NOKIA สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) และก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำแทน ทั้ง ๆ ที่ในอดีต NOKIA เป็นบริษัทเล็ก ๆ ของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งมีประชากรแค่ 5.3 ล้านคน จึงมีการตั้งคำถามว่า ทำไมประเทศเล็ก ๆ นี้จึงสามารถเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ภายในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 20 ปีที่ผ่านมา ได้อย่างไร?
NOKIA เป็นตัวอย่างที่องค์กรต่าง ๆ พยายามศึกษาถึงกลยุทธ์ความสำเร็จ แต่การที่จะเป็นผู้นำได้นั้น ไม่สามารถสร้างในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ได้ จากการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่เป็นหัวใจหลักของการประสบความสำเร็จก็คือ รัฐบาลฟินแลนด์มีนโยบายให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างจริงจัง ด้วยการพยายามส่งเสริมภาคเอกชนมีการทำวิจัยและพัฒนาพร้อมไปกับผลงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ (Knowledge) ของภาคเอกชนให้สามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) ได้ ทำให้ประเทศฟินแลนด์สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับสินค้าอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามประเทศอื่น ๆ ก็สามารถที่จะทำให้มีความได้เปรียบเช่นเดียวกับประเทศฟินแลนด์เช่นกันปัจจัยที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุดก็คือ ความรู้ (Knowledge) ที่องค์กรต้องพยายามสร้างขึ้นมา ด้วยการเรียนรู้ (Learning) และพัฒนามาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  (Learning Organization) ให้ได้ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ ระบบโทรคมนาคม หรือแม้กระทั่ง ระบบอินเตอร์เน็ต สามารถช่วยทำให้กิจการ สร้างองค์ความรู้ได้หลากหลายรูปแบบ จากนั้นผู้บริหารต้องดึงเอาความรู้ต่าง ๆ ที่บุคลากรมี เพื่อมาสร้างนวัตกรรม (Innovation) ให้กับองค์กรต่อไป
นวัตกรรม เป็น การเรียนรู้ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการสร้างผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม  
นวัตกรรม ไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีและจับต้องได้ (Tangible Innovation) เท่านั้น เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอลรุ่นใหม่ของ Sony หรือโทรทัศน์รุ่นใหม่จอ Plasma ของ Samsung หรือโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ของ LG เป็นต้น แต่นวัตกรรมยังสามารถครอบคลุมถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Innovation) โดยเฉพาะ การจัดการสมัยใหม่ ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมได้ เช่น ธนาคารกสิกรไทย ได้มีการนำ Balanced Scorecard (BSC) มาใช้ในและประสบความสำเร็จในการควบคุมกิจการและบริหารเชิงกลยุทธ์ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยจำนวนมากได้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเป็นอย่างมาก เช่นบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)ได้จัดให้ปี 2548 เป็นปีแห่งนวัตกรรม (Year of Innovation) มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมของแต่ละบริษัทในเครือ และมีการประกวดแนวคิดด้านนวัตกรรมที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้จริง ผู้ชนะเลิศจะได้เงินสดเป็นรางวัลถึง 1 ล้านบาท
เมื่อองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรม พร้อมทั้งมีการจัดการที่ดีในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตลาด การเงิน การผลิต และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แล้ว ก็จะทำให้องค์สามารถที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ได้  และตามทฤษฎี Michael E.Porter ซึ่งกูรูท่านหนึ่งทางด้านการจัดการ ได้กล่าวถึงการสร้างกลยุทธ์ที่สำคัญของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประกอบด้วย
1. กลยุทธ์ต้นทุน (Cost Strategy) – กิจการต่าง  ๆ พยายามลดต้นทุนจนทำให้สร้างความได้เปรียบกว่าคู่แข่งขันเช่น Wal-Mart ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการนำนวัตกรรมด้านการจัดการเกี่ยวกับ การบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management : SCM) เพื่อลดต้นทุน ด้วยมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการติดต่อระหว่าง Supplier และศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center : DC)จนทำให้ สามารถตั้งราคาได้ต่ำของสินค้าแต่ละชิ้น (Stock Keeping Unit : SKU) กว่าคู่แข่งขันได้
2. กลยุทธ์ความแตกต่าง (Differentiate Strategy) – ในอดีตสินค้ามักจะมีการผลิตที่เป็นจำนวนมาก (Mass Production) ตามความต้องการของผู้ขาย แต่ปัจจุบันจะทำเช่นนั้น ไม่ได้อีกแล้ว เพราะกลุ่มลูกค้ามีความต้องการหลากหลาย ทำให้ต้องมีการสร้างความแตกต่างมากกว่ารายอื่น เช่น PDA ของ บริษัท Palm Inc. มีการพัฒนาเทคโนโลยีและสามารถสร้างความแตกต่างได้มากกว่าคอมพิวเตอร์รูปแบบเดิมที่มีขนาดใหญ่กว่าและไม่สะดวกในการพกพาได้
3. กลยุทธ์มุ่งเฉพาะกลุ่ม (Niche or Focus Strategy) ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือ มีประสิทธิภาพทั้งสามารถส่งข้อมูลเสียงจนมาถึงส่ง (Short Message Service : SMS) และ Multi Message Service : MMS) ได้ มีธุรกิจหนึ่งที่กำลังน่าสนใจมากคือ Digital Content  เป็นธุรกิจที่จะหาเนื้อหาหรือข้อมูลใหม่ ๆ เช่น ข้อมูลตลาดหุ้น รายงานผลการแข่งขันกีฬา เป็นต้น เพื่อบริการกลุ่มลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่มีพฤติกรรมชอบใช้เทคโนโลยี ใหม่ ๆ ควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ถึงแม้คนกลุ่มนี้จะยังมีไม่มากก็ตาม      
กลยุทธ์การสร้างได้เปรียบในการแข่งขันเป็นพื้นฐานที่แต่ละกิจการพยายามสร้าง และเมื่อแต่ละประเทศมีหลายองค์กรที่สามารถสร้างความได้เปรียบก็จะทำให้ประเทศนั้น ๆ มีขีดความสามารถทางการแข่งขัน  (Competitiveness) ที่เหนือกว่าอีกประเทศอื่น ๆ  
ในปี  2547 ได้มีการจัดอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ จากการจัดอันดับของ World Economic Forum (WEF) โดยดูปัจจัยหลัก ๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ประสิทธิภาพของรัฐบาล และศักยภาพทางเศรษฐกิจ เป็นต้น  ดังตารางที่ 1    

อันดับ
ประเทศ (ลำดับปีที่แล้ว)
1.
ฟินแลนด์ (1)
4.
ไต้หวัน (5)
7.
สิงคโปร์ (6)
9.
ญี่ปุ่น (11)
29.
เกาหลี (18)
31.
มาเลเซีย (29)
34.
ไทย (32)

                                       ตารางที่ 1 ขีดความสามารถทางการแข่งขัน 2004
Source : World Economic Forum (2004) The Global Competitiveness Report 2004-2005

            ประเทศไทยมีการจัดอันดับอยู่ที่ 34 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ เมื่อสำรวจรายชื่อแต่ละประเทศแล้วจะเห็นว่าประเทศเหล่านี้จะเน้นสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง (High Technology)  เช่น คอมพิวเตอร์ของไต้หวัน เครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศเกาหลีใต้ รถยนต์ที่มีคุณภาพจากญี่ปุ่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยก็พยายามผลักดันนโยบายที่ให้การสนับสนุนภาคเอกชน เพื่อที่สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ โดยจะเน้นกลุ่ม (Cluster) ธุรกิจ 5 กลุ่ม ดังนี้
1. อาหารและสมุนไพร
2. ยางและผลิตภัณฑ์ยาง
3. ซอฟต์แวร์และแมคาทรอนิคส์
4. ยานยนต์และชิ้นส่วน
5. การออกแบบเชิงวิศวกรรมและเชิงอุตสาหกรรม

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การวางโครงร่างทางเทคโนโลยีที่ดีจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร , บริษัทชั้นนำของไทยที่มีการนำนวัฒกรรมเข้ามาสู่ตลาด

สามารถใช้ทุกอย่างบนเทคโนโลยีได้ทั่วประเทศทั้งทางด้านบริการสื่อสารทุกประเภททั้งเสียง (Voice) และข้อมูล (Data) เข้าด้วยกัน
สามารถมองหางานบนเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึงทั้งในประเทศและต่างประเทศ
มีกิจกรรมในโปรแกรมต่างๆของประเทศได้สามารถเข้าร่วมทำทุกอย่างง่ายขึ้น  สามารถทำงานบนเทคโนโลยีได้ความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ด้านการทำงานของแต่ละหน่วยงาน เช่น หน่วยงานราชการ สามารถสร้างความสะดวกสบายทั้งหน่วยงานและผู้เข้าใช้บริการ ในเรื่องของความรวดเร็วในการให้บริการทำให้เกิดความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีที่ดีทำให้ผู้คนหันมาสนใจเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้นเนื่องจากเทคโนโลยีช่วยให้คนเข้าถึงความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
บริษัทชั้นนำของไทยที่มีการนำนวัฒกรรมเข้ามาสู่ตลาด
บริษัทโนเกียคอร์ปอเรชั่น
·                     เรียนรู้วิธีการใช้ Facebook และ Twitter
·                     ดูภาพถ่ายและวิดีโอบนทีวี (HDMI)
·                     ทีวีในกระเป๋าของคุณ
·                     หน้าจอหลัก 3 หน้าจอพร้อมให้บริการคุณ
·                     เปิดใช้แอปพลิเคชั่นหลายรายการพร้อมกัน
ปุ่มและส่วนประกอบ
ทำความคุ้นเคยกับปุ่มและส่วนประกอบของโทรศัพท์ของคุณ

เคล็ดลับ: โทรศัพท์
N8 ของคุณมีแป้นพิมพ์เสมือนจริง แตะที่ปุ่มเปลี่ยนโหมด 1* เพื่อเปลี่ยนระหว่างอักขระและตัวเลข

ล็อคปุ่มกด ด้วยระบบสัมผัสหน้าจอ คุณสามารถใช้งานหลายๆ อย่างด้วยการสัมผัสเพียงครั้งเดียว ควรล็อคปุ่มกดและหน้าจอไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการโทรออกหรือกระทำการอื่นๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ คุณสามารถล็อคหน้าจอและปุ่มโดยใช้สวิตช์ล็อคที่ด้านข้างตัวเครื่อง

Ovi Maps
เพลงและเกมส์
อีเมลบนมือถือ
ลิงก์อื่นๆ

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตัวอย่างเทคโนโลยีสมัยใหม่และเทคโนโลยีต้นแบบ

 1.  นาโนเทคโนโลยีกับการรักษาโรคมะเร็ง(เทคโนโลยีสมัยใหม่)
“มะเร็ง” โรคร้ายที่คุกคามผู้ป่วยทั่วโลกและส่งผลให้มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นสิ่งกระตุ้นให้นักวิจัยและบริษัทยาเกิดการตื่นตัวในการคิดค้นหาทางวินิจฉัยและรักษาเป็นเวลาหลายปี

         การทำเคมีบำบัด  (Chemotherapy) การผ่าตัด (Surgery) การฉายรังสี (Radiotherapy) และการรับประทานยา  ...หลากหลายวิธีเหล่านี้ล้วนนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง  แต่ละวิธีมีข้อดีเสียแตกต่างกัน การจะเลือกวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และสภาพร่างกายของผู้ป่วย

         นอกจากวิธีที่กล่าวมาข้างต้น ผู้อ่านหลายท่านคงทราบว่า ปัจจุบันแนวความคิดที่ทำให้ทั่วโลกตื่นตัว คือ การนำเทคโนโลยีซุปเปอร์จิ๋วหรือ นาโนเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เช่น การผลิตเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมที่มีขนาดเล็กมากสามารถแทรกซึมผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม้เทนนิสที่ผลิตจากวัสดุนาโนทำให้มีความทนทาน แข็งแรง และมีน้ำหนักเบา รวมทั้งเสื้อผ้าที่ผลิตจากเทคโนโลยีนาโน ซึ่งมีความหนาแน่นจนน้ำผลไม้หรือกาแฟไม่สามารถซึมผ่านลงไปได้ ทำให้เสื้อผ้าไม่เปื้อน แถมเบาสบายและมีความคงทน เป็นต้น แต่ผลการประยุกต์ใช้ที่น่าจะมีความสำคัญต่อมนุษย์มากที่สุดอันหนึ่งก็คือ การนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้กับโรคมะเร็ง ซึ่งจะช่วยให้การแพทย์ก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง

ตรวจวินิจฉัยและรักษามะเร็งได้ด้วยนาโนเทคโนโลยี

         นาโนเทคโนโลยีสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ได้โดยตรง โดยการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ให้มีขนาดเล็กกว่า 100 นาโนเมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับขนาดของเซลล์สัตว์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 10,000 ถึง 20,000 นาโนเมตรแล้ว  พบว่าวัสดุนาโนสามารถเข้าสู่เซลล์และอวัยวะภายในเซลล์ได้ง่าย รวมทั้งสามารถใช้ในการตรวจจับหรือติดตามเซลล์ในร่างกายได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญอันดับแรกที่แพทย์ควรตระหนักก่อนที่จะใช้วัสดุนาโนรักษาโรคคือ ความสามารถในการวินิจฉัยเซลล์มะเร็งอย่างถูกต้องแม่นยำตั้งแต่ในระยะแรก เพื่อให้การรักษาเป็นไปได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้น 

ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/38387

2.วิจัยเห็ดญี่ปุ่นสยบมะเร็ง ความหวังรักษาเซลล์ร้ายระยะก่อตัว (เทคโนโลยีต้นแบบ)

สถาบันมะเร็งเผยผลการศึกษาเห็ดญี่ปุ่นในผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายสามารถกระตุ้นภูมิต้านทานและทำลายเซลล์ร้าย ยืดอายุผู้ป่วยได้นาน 1-2 ปี เผยทางเลือกสำหรับยับยั้งเซลล์ร้ายในระยะก่อตัว


นพ.สุพลมโนรมณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งและที่ปรึกษาสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยผลการวิจัยประสิทธิภาพของเห็ดญี่ปุ่นในการรักษาโรคมะเร็ง ว่า สารสกัดจากเห็ดชิตาเกะ ซึ่งเป็นเห็ดที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่น สามารถกระตุ้นภูมิต้านทาน และทำลายเซลล์มะเร็งได้จริง


ก่อนหน้านี้นักวิจัยญี่ปุ่นได้สังเกตความแตกต่างด้านสุขภาพ ระหว่างประชากรกลุ่มที่บริโภคเห็ดชิตาเกะ กับกลุ่มที่ไม่ได้บริโภคเห็ด พบความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งแตกต่างกันอย่างชัดเจน จึงนำมาสู่การศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงสารสกัดของเห็ดชิตาเกะในระดับห้องปฏิบัติการ 
 

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ตรวจหามะเร็งรวดเร็ว-แม่นยำ

เมื่อวิวัฒนาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงยารักษาโรค ได้ถูกคิดค้นและพัฒนาออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ช่วยรักษาคนไข้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคร้าย ต่าง ๆ

ซึ่งโรคมะเร็งก็ถือเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่คุกคามชีวิตคนทั่วโลกรวมถึงคนไทยไปจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาวงการวิทยาศาสตร์ การแพทย์สมัยใหม่ได้พยายามพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อต่อสู้กับมะเร็งร้าย

ทั้งนี้หนึ่งในเครื่องมือทางการแพทย์ ที่เกี่ยวกับโรคมะเร็งซึ่งถูกกล่าวถึงบ่อย ๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาก็คือ เครื่องเพท/ ซีที (PET/CT : Positron Emission Tomography/Computed Tomography) ซึ่งเป็นเครื่องมือทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานที่ผสานกัน ระหว่างเทคโนโลยีของเครื่อง PET และเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ที่มีประสิทธิภาพสูงในการนำมาใช้ตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง

เครื่องเพท/ซีที จะทำหน้าที่เอกซเรย์ภาพของอวัยวะต่าง ๆ ของ ร่างกาย ให้ภาพที่มีความละเอียดสูง สามารถระบุตำแหน่งเซลล์ที่มีความผิดปกติได้อย่างแม่นยำ และช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น โดยเครื่องเพท/ซีที รุ่นล่าสุด “ไบโอกราฟ 64 ทรูพอยท์” (PET/CT Biograph 64 True Point) ได้ถูกพัฒนาขึ้นอีก ขั้นด้วยการให้ความละเอียดคมชัดของภาพที่สูงขึ้นและเร็วขึ้นกว่าเดิม สามารถสร้างภาพตัดขวางพร้อมกันถึง 64 ภาพต่อการหมุนหนึ่งรอบด้วยความเร็ว 0.33 วินาที ภาพที่ได้จึงมีความชัดเจนทั้ง 2 และ 3 มิติ และระบุรอยโรคได้แม้มีขนาดเล็กเพียง 3-6 มิลลิเมตร

และสามารถให้รายละเอียดผลการตรวจที่แสดงให้เห็นความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของโรคมะเร็ง ระบุตำแหน่งที่เซลล์มีความผิดปกติ ได้ถูกต้องแม่นยำ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ตรวจหาระยะของมะเร็ง ตรวจสอบการตอบสนองต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี เพื่อติดตามผลการรักษา และยังใช้ตรวจหาการลุกลามของมะเร็งที่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ หรือมะเร็งที่กลับมาเป็นใหม่หลังการรักษาได้ ถือเป็นรายละเอียดที่ไม่สามารถบอกได้ด้วยการตรวจวิธีอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

นพ.ณรงค์ศักดิ์ เกียรติขจรธาดา อายุรแพทย์โรคเลือด และโรคมะเร็ง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ฯ กล่าวว่า โรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก เทคโนโลยีของเครื่องเพท/ซีที จะสามารถบอกตำแหน่งและขนาดของเซลล์มะเร็งได้อย่างแม่นยำ แม้จะมีความผิดปกติเพียงเล็กน้อย สำหรับขั้นตอนการตรวจนั้นผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสารเภสัชรังสีที่เป็นอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคส ติดฉลากกับสารกัมมันตรังสีที่สลายตัวให้รังสี โพสิตรอนเข้าหลอดเลือดดำ ซึ่งสารที่ฉีดเข้าไปจะไปสะสมอยู่ในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำผู้ป่วยเข้าเครื่องเพท/ซีที ทำการตรวจ โดยใช้เวลาเพียง 15-20 นาที เร็วกว่าเครื่องรุ่นก่อนถึง 2 เท่า เมื่อรวมขั้นตอนต่าง ๆ ของการตรวจจะใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง เท่านั้น